โรคกระเพาะกับการทำ IF สามารถทำควบคู่กันได้หรือไม่นั้น วันนี้แอดมินจะพาคุณไปหาคำตอบกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคนี้การดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ โดยสิ่งที่จะสามารถช่วยดูแลตัวเองให้ดูดีขึ้นได้ทางหนึ่งก็คือ ‘การลดน้ำหนัก’ เพราะการมีรูปร่างที่ดีจะนำไปสู่การมีภาพลักษณ์ที่ดีมากขึ้นได้นั่นเอง และเรื่องของภาพลักษณ์ก็เป็นสิ่งที่ผู้คนยุคนี้ให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษด้วย ดังนั้น การลดน้ำหนักจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำแม้กระทั่งคนที่เป็นโรคกระเพาะเองก็อยากที่จะลดน้ำหนักด้วย ซึ่งการทำ IF ก็เป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แล้วโรคกระเพาะกับการทำ IF เป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือไม่นั้น ในบทความนี้จะมาช่วยอธิบายให้ได้ทราบกัน
Intermittent fasting คืออะไร?
โรคกระเพาะกับการทำ IF เป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือไม่นั้น อันดับแรกก็อยากจะให้มากทำความรู้จักกันก่อนว่า IF คืออะไร? ซึ่ง IF คำที่ย่อมาจาก Intermittent Fasting เป็นคำที่จะใช้เรียกรวมการอดอาหารที่จะอดสลับกับการอิ่ม หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการอดอาหารเป็นช่วง ๆ โดยการอดอาหารด้วยการทำ IF นั้น ตามตำราก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่รูปแบบการทำ IF ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน
รูปแบบแรก ได้แก่ แบบ Alternate day fasting (ADF) ซึ่งในรูปแบบนี้จะเป็นการให้อดอาหารสลับกับอิ่มวันเว้นวัน ในวันที่ต้องอดอาหารก็จะให้มีการกินอาหารเพียงแค่ 25% ของแคลอรีที่ร่างกายต้องการเท่านั้น จากนั้นจะต้องสลับวันที่สามารถกินอาหารแบบเต็มที่ได้ราว 125% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ รูปแบบต่อมา คือ Time-restricted feeding (TRF) เป็นวิธีการทำ IF ที่จะทำการจำกัดเวลาในการกินอาหารแต่ละวันเอาไว้ โดยจะแบ่งออกเป็นช่วงเวลาที่สามารถกินอาหารได้ และช่วงเวลาที่ห้ามกิน ในการทำตามรูปแบบนี้ก็จะมีสูตรให้เลือกหลากหลายเลย ซึ่งจะมีให้เลือกทำตั้งแต่ 3-12 ชั่วโมง
สำหรับการทำ IF ทั้งสองรูปแบบนั้น ก็ได้มีงานวิจัยออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยว่า การทำ IF แบบ Time-restricted feeding เป็นวิธีการที่ดีมากกว่า เนื่องจากว่าจะส่งผลดีต่อเรื่องของการลดน้ำหนัก และยังเป็นวิธีการที่สามารถช่วยลดเปอร์เซ็นต์ไขมัน รวมถึงระดับน้ำตาล และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหากว่าทำ IF ด้วยวิธีการนี้พร้อมไปกับการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อด้วย ก็จะทำให้มวลกล้ามเนื้อในร่างกายไม่หายไปพร้อมกับน้ำหนักด้วยนั่นเอง
โรคกระเพาะกับการทำ IF มีผลต่อร่างกายอย่างไร?
โรคกระเพาะกับการทำ IF ในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่คนเป็นโรคกระเพาะควรรู้เอาไว้เลย การทำ IF เป็นวิธีการอดอาหาร ที่หากว่ามีการอดอาหารมากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคขาดสารอาหารได้ แต่ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่สามารถกินอาหารได้นั้น หากว่ากินทุกอย่างแบบไม่ได้เลือกและรีบกิน ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นการกินอาหารแบบผิดเวลาที่ควรจะเป็น ยังเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ และโรคกระเพาะอาหารได้ด้วยนั่นเอง จากสิ่งนี้เองที่ทำให้การทำ IF มีผลต่อโรคกระเพาะ และคนที่เป็นโรคนี้ก็ไม่แนะนำให้ทำ IF ด้วย
ประโยชน์และความเสี่ยงของ โรคกระเพาะกับการทำ IF
โรคกระเพาะกับการทำ IF ที่หลายคนสงสัยนั้น จากสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ก็คงจะช่วยตอบคำถามให้ได้ทราบกันแล้วว่า สำหรับโรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้นก็เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการอักเสบ หรือว่ามีอาการระคายเคืองขึ้นที่บริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นสั้น ๆ 1-2 สัปดาห์แล้วจะหายไปเอง แต่ก็มีคนที่เป็นอยู่บ่อยครั้งจนทำให้เกิดเป็นอาการเหล่านี้เป็นเวลานาน หากเป็นเช่นนี้ที่มีการอักเสบเรื้อรังก็จะส่งผลทำให้เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย ซึ่งต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม และการกินยาลดกรด
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเป็นโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีแผลในทางเดินอาหารที่ใหญ่ รุนแรง ไม่ได้มีเลือดออก หรือว่าไม่ได้มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ก็สามารถที่จะทำ IF ได้ แต่จะต้องเป็นการทำด้วยวิธีการอดอาหารที่ไม่ใช้เวลานานจนเกินไป และควรที่จะกินอาหารให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้อาหารไปกระตุ้นอาการของโรคให้เกิดขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่แนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบทำ IF อยู่ดี เพราะด้วยพฤติกรรมการกินอาหารแบบนี้ที่ร่างกายจะได้รับอาหารในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ก็ยิ่งทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และทำให้เกิดความเสี่ยงตามมาได้ ทั้งนี้หากว่าต้องการทำจริง ๆ ก็แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะเป็นทางที่ดีที่สุดต่อผู้ที่เป็นโรคนี้ และจะช่วยให้ทำแล้วเกิดประโยชน์มากกว่าโทษนั่นเอง
5 กลุ่มคนที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำ IF
นอกจากที่การทำ if กับโรคกระเพาะ หรือคนที่เป็นโรคกระเพาะจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำแล้ว IF นั้นเหมาะกับใครบ้าง? ซึ่งมีกลุ่มคนอื่น ๆ ที่ไม่ควรทำ หรือไม่เหมาะสมที่จะทำ IF ด้วยเช่นกัน โดยกลุ่มคนที่ไม่ควรทำ IF ก็มีดังต่อไปนี้
- กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี
การที่กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปีไม่ควรทำ IF ก็เป็นเพราะว่า เป็นช่วงที่ร่างกายยังมีการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และเป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ มาช่วยในการทำให้ร่างกายเจริญเติบโตมากขึ้นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะเครียด หรือทำ IF ด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนได้ ยิ่งการอดอาหารที่ยาวนานในการทำ IF ด้วยแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องฮอร์โมนที่ไม่สมดุลกันได้มากขึ้นไปอีก ซึ่งสิ่งนี้ก็จะส่งผลไปถึงเรื่องของการเจริญเติบโต, กล้ามเนื้อ, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และอาจจะทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาได้
- กลุ่มคนที่เพิ่งผ่าตัด
ผู้ที่เพิ่งผ่าตัด เป็นผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงของการพักฟื้นหลังจากที่มีอาการเจ็บป่วย โดยจะไม่เหมาะสมกับการทำ IF มาก ๆ เนื่องจากว่าเป็นช่วงที่ร่างกายขาดสารอาหารที่จะไปฟื้นฟูร่างกาย และซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอยู่แล้ว หากว่ายิ่งทำ IF ที่ต้องอดอาหารอีก ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย ทางที่ดีหากต้องการทำ IF จริง ๆ ก็แนะนำว่ารอให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติก่อนจะดีกว่า
- กลุ่มคนที่เป็นโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa)
ผู้ที่เป็นโรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) และรวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคกินแล้วทำให้อาเจียนด้วย เป็นกลุ่มคนที่มักจะกลัวการกินอาหารเกือบจะทุกรูปแบบเลย การเป็นเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ขาดสารอาหารอย่างรุนแรงได้ ยิ่งถ้าเป็นคนที่ชอบกินผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักเป็นประจำ เมื่อขาดสารอาหารแล้วยิ่งมาทำ IF ด้วยแล้ว ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากขึ้นไปอีก ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงไม่ควรอย่างมากที่จะทำ IF และไม่ควรทำเด็ดขาดเลย
- กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว
สำหรับกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือด, โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ หรือผู้ที่เป็นโรคประจำตัวอื่น ๆ เองก็ไม่เหมาะสมที่จะทำ IF เช่นกัน เนื่องจากว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จนทำให้เกิดเป็นอันตรายขึ้นมาได้ หากว่าต้องการจะทำ IF จริง ๆ ก็ควรจะต้องทำการปรึกษากับแพทย์ก่อน เพื่อให้สามารถทราบได้ว่าควรทำไหม หรือจะต้องทำอย่างไรบ้าง
- กลุ่มคนที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงของการให้นมบุตร ก็เป็นอีกกลุ่มคนที่ไม่แนะนำให้ทำ IF เช่นกัน เนื่องจากว่าร่างกายของผู้คนกลุ่มนี้กำลังมีความต้องการสารอาหารมาก ๆ เพื่อใช้บำรุงตัวเองและลูก ซึ่งการทำ IF อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารขึ้นมาได้ เพราะต้องอดอาหารเป็นเวลานาน ทั้งนี้ถ้าต้องการทำ IF ก็แนะนำว่าให้พ้นช่วงของการให้นมบุตรไปก่อนแล้วค่อยทำก็จะดีกว่า
โรคกระเพาะกับการทำ IF นั้นทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่คงจะช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะได้ทราบกันแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีข้อมูลของกลุ่มคนที่ไม่ควรทำ IF มาแนะนำกันด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์ และควรรู้เอาไว้เลยก่อนที่จะตัดสินใจทำ IF
อ้างอิง:
เป็นโรคกระเพาะอักเสบ สามารถทำ IF ได้ไหม. https://www.pobpad.com/ถาม/หัวข้อ/เป็นโรคกร
7 กลุ่มคนที่ไม่ควรทำ IF อันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงร่างกายทรุดโทรม. https://women.trueid.net/detail/5QRwRRZgBm09