ผื่นคีโตคืออะไร ? วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

ผื่นคีโตคืออะไร

หัวข้อบทความ

ผื่นคีโตคืออะไร ? ผื่นชนิดนี้เป็นอาการที่เกิดได้บ่อย ๆ สำหรับผู้ที่กินคีโต โดยจะมีผื่นขึ้นตามลำตัว และหลังคอ มักพบบ่อยในที่ทานคีโตในช่วงแรก สาเหตุมาจากการกินคีโตที่เป็นการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลให้ได้มากที่สุดให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตสิส เมื่อร่างกายเข้าสู่สภาวะนี้อาจทำให้เกิดภาวะที่ไม่พึงประสงค์ได้ สำหรับบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาผื่นขึ้นจากการกินคีโตมาให้ศึกษากัน ดังนี้ ผื่นคีโตคืออะไร ?, อาการของผื่นคีโต วิธีรักษาและวิธีป้องกันผื่นคีโต ถ้าทุกคนพร้อมกันแล้ว ไปติดตามเนื้อหาในบทความนี้กันได้เลย


ผื่นคีโตคืออะไร ?

ผื่นคีโตคืออะไร

ผื่นคีโตคือ ผื่นชนิดหนึ่งที่มักจะมีโอกาสสูงกับผู้หญิงที่ทานคีโต หรืออาหารคาร์บต่ำ เนื่องจากอาการแพ้ปริมาณอะซิโตนที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวกะทันหัน หรือร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตสิส ซึ่งอาการผื่นลักษณะนี้มีให้พบเห็นตามโซเชียล บางคนอาจจะเรียกอาการผื่นลักษณะนี้ว่าลดความอ้วน คันจากผื่น ก็เป็นส่วนหนึ่งของผื่นคีโตเช่นเดียวกัน นอกจากภาวะ และอาการแพ้อะซิโตนตามที่ได้บอกไปในข้างต้นแล้ว อาจจะยังมาจากความเครียดสะสมในการรับประทานคีโตได้อีกด้วย เนื่องจากการกินคีโตนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการกินใหม่ทั้งหมด ทำให้หลาย ๆ คนที่ไม่เคยควบคุมทั้งสารอาหาร และปริมาณแคลอรี เกิดภาวะความเครียดสะสม และส่งผลข้างเคียงออกมาในรูปแบบของผื่นได้ด้วยนั้นเอง

นี่เป็นภาพรวมของอาการผื่นคีโตเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในหมู่คนกินคีโต ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือชีวิต เพราะหลังจากที่ร่างกายปรับตัวได้ และร่างกายจะฟื้นฟูตัวเอง พื้นผิวบริเวณที่เคยเป็นผื่นจะค่อย ๆ ตกสะเก็ด และหายไปเองไม่เกินสัปดาห์ หวังว่าจะช่วยคลายกังวลกับผู้ที่มีผื่นจากการกินคีโต ให้หายข้อสงสัยในประเด็นที่ว่า ผื่นคีโต กี่วันหาย ไปได้


อาการของผื่นคีโต

อาการของผื่นคีโต

อาการผื่นคีโตนั้นไม่อันตรายและสามารถหายได้เอง แต่เชื่อว่าในตอนนี้ ผู้ที่กำลังเจอปัญหากับอาการผื่นคีโตคงจะทุกข์ใจกันไม่น้อย ในเนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการเจาะลึกอาการของผื่นที่เกิดขึ้นว่ามีกี่ระยะ และแต่ละระยะมีลักษณะที่สังเกตได้อย่างไรบ้าง โดยทั่วไปแล้วผื่นคีโตจะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้


1. Early lesions

นี่จะเป็นระยะแรกของอาการผื่นคีโต โดยผื่นที่เกิดขึ้นนั้นจะมีสภาพเหมือนรอยขีดข่วนสีชมพูอ่อนเท่านั้น ในกรณีอาจจะพบว่าตัวเองเป็นผื่นขึ้นทั่วไป ซึ่งจุดเด่นของผื่นระยะแรกนี้คือ สีชมพูอ่อนที่ดูไม่อันตราย และพบได้ทั่วไป

 2. Fully developed lesions

เพิ่มระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในระยะนี้จากผื่นทั่วไป จะเกิดเป็นตุ่มที่น้ำใส ๆ หรือ papules หลายคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นผื่นคีโตจะรู้สึกกังวลใจ แต่ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่กินคีโตอยากให้รู้ไว้ได้เลยว่าผื่นที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นคือ ผื่นจากการกินคีโต และไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 3. Resolving lesions

เป็นระยะที่ร่างกายเกิดการฟื้นฟู และช่วงตกสะเก็ดของแผลจากผื่นคีโต ในช่วงนี้นั้นจำนวนผื่นจะเริ่มลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และผื่นที่เคยมีอยู่จะเริ่มตกสะเก็ด จากตุ้มใส และตุ้มที่มีน้ำอยู่ภายในจะเริ่มฝ่อ กลายเป็นตุ้มที่มีสีเข้มขึ้น ในบางพื้นที่อาจจะเป็นสีน้ำตาล หรือดำ ให้คุณสามารถเบาใจได้ว่าอีกไม่นานผื่นที่เป็นจะค่อย ๆ หายไปในที่สุด

 4. Late lesions

สุดท้ายนี้เป็นช่วงที่ผื่นจะหายไปจากร่างกาย ตุ่มที่มีลักษณะสีเข้มจะค่อย ๆ หลุดออกไปจากร่างกาย เหลือแต่คราบสีเข้มไว้กับผิว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักในการผลัดเซลล์ผิว เพื่อให้ร่างกายของคุณกลับมามีสีผิวที่สม่ำเสมอกัน โดยปกติแล้วใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์


ทั้ง 4 ระยะนี้เป็นระยะที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการผื่นคีโต ในบางรายอาจจะมีอาการไข้คีโตร่วมด้วย หวังว่าใครที่กำลังเผชิญกับอาการดังกล่าวนี้อยู่ จะรู้สึกปลอดภัย และเข้าใจสถานการณ์ของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่าการมีผื่นขึ้นจากการกินคีโตนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย และไม่ได้อันตรายต่อร่างกาย หรือชีวิต นี่เป็นผลข้างเคียงจากการปรับตัวของร่างกายเท่านั้นเอง


วิธีรักษาและวิธีป้องกันผื่นคีโต

วิธีรักษาและวิธีป้องกันผื่นคีโต

สำหรับ วิธีป้องกันและรักษาผื่นคีโต นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ถึงแม้ว่าอาการผื่นคีโตจะไม่ได้เป็นอันตราย และเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติกับผู้ที่กินคีโต แต่การดูแลที่ถูกต้องก็สามารถช่วยให้ผิวเกิดการตกสะเก็ดได้เร็วมากขึ้น โดยมีวิธีดังนี้


1. อดทนไม่เกิน 2 สัปดาห์

สิ่งที่อยากให้คุณเข้าใจบริบทของผื่นชนิดนี้คือ ผื่นที่สามารถหายไปได้ด้วยตัวเอง หากไม่เร่งรีบ และไม่ต้องการรับประทานยาเพิ่มเติม คุณสามารถที่จะให้ร่างกายฟื้นฟู และปรับสภาพจากการรับประทานอาหารแบบใหม่จากการกินคีโต เมื่อร่างกายปรับตัวได้ อาการผื่นคีโตจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองตามลำดับไม่เกิน 2 สัปดาห์


2. เพิ่มคาร์โบไฮเดรตเล็กน้อย

นี่อาจจะเป็นการฝ่ากฎของการกินคีโต เนื่องจากกฎเหล็กของการกินคีโตคือการงดทานอาหารคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลให้ได้มากที่สุด แต่หากปล่อยผ่านมาสัปดาห์กว่าแล้ว อาหารผื่นที่ปรากฏไม่ได้จะดูดีขึ้นตามที่ควรจะเป็น อาจลองเพิ่มคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้ออาหารเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน พร้อมกับทานยาแก้อักเสบ และทาครีมลดอาการบวมของผื่นตามบริเวณที่มีแผล


3. ร่างกายขาดสารอาหาร

เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของผื่นคีโตกันเลยก็ว่าได้ เพราะร่างกายที่ยังไม่ชินกับการรับประทานอาหารแบบใหม่ และสารอาหารที่ขาดน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจจะขาดหายไปจากการทานอาหารแบบคีโตคือ วิตามิน และเกลือแร่ หากคุณเริ่มสังเกตได้ว่าอาการแพ้ของผื่นที่เกิดขึ้นนั้น ผ่านมาเกือบครบ 2 สัปดาห์แล้ว ร่างกายยังไม่สามารถฟื้นฟูได้เท่าที่ควร นอกจากการทานยาลดอักเสบ และทาบริเวณที่เป็นแผลแล้ว ให้รับประทานวิตามินเสริมเข้าไปด้วย โดยเฉพาะวิตามิน A, B-12 หรือ C เพื่อเน้นการฟื้นฟูของแผลที่จากผื่นที่เกิดขึ้น


4. อัดวิตามิน ตัวช่วยลดผื่น

เสริมเนื้อหาต่อจากข้อก่อนหน้าที่มีคำแนะนำให้ทานวิตามินเพิ่มเติม เพื่อเร่งการฟื้นฟูตัวของร่างกาย และช่วยทำให้แผลตกสะเก็ดได้เร็วมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่แผลอักเสบ ให้รับประทานโพรไบโอติก, วิตามิน D, พรีไบโอติก และน้ำมันปลาที่ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยเรื่องลดผื่น และลดอักเสบได้เป็นอย่างดี


5. ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากอาการน่าเป็นห่วง และไม่มีท่าทีว่าแผลจะลดอาการอักเสบเร็ว ๆ นี้ ให้คุณเข้าพบแพทย์ผิวหนังที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำปรึกษา หรือตัวยาแบบพิเศษในตระกูลกลุ่มยาปฏิชีวนะได้แก่ minocycline และ doxycycline เพื่อให้อาการลดความรุนแรงลงได้


นี่เป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงผลข้างเคียงของการกินคีโตอย่างผื่นคีโต คืออะไร ? วิธีรักษาและวิธีป้องกัน ซึ่งคุณจะเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับผื่นคีโตขึ้นมาได้บ้างแล้ว และป้องกันผื่นคีโตที่ได้มีการกล่าวไปในเนื้อหาก่อนหน้า ใครที่กำลังเผชิญกับอาการผื่นคีโตกันอยู่ ลองทำตามวิธีการดูแล และวิธีการรักษาที่ได้แนะนำไป หากอาการน่าเป็นห่วง และร่างกายฟื้นฟูตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ การพบแพทย์ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


อ้างอิง 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าอยากลดน้ำหนัก
เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง ถ้าอยากลดน้ำหนัก

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปเปิดโปง 7 เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง พร้อมทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ช่วยให้คุณดื่มได้อย่างอร่อยแบบไม่ต้องกังวลแคลอรี

7 อาหารแคลอรีต่ำ ที่อิ่มท้องและช่วยลดน้ำหนัก
7 อาหารแคลอรีต่ำ ที่อิ่มท้องและช่วยลดน้ำหนัก

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ “7 อาหารแคลอรีต่ำ” ที่ไม่เพียงช่วยให้อิ่มนาน แต่ยังเสริมสร้างสุขภาพในระยะยาว พร้อมทั้งเคล็ดลับการเลือก

คำนวณ BMR และ TDEE ง่ายๆ เพื่อวางแผนลดน้ำหนักได้ผล
คำนวณ BMR และ TDEE ง่ายๆ เพื่อวางแผนลดน้ำหนักได้ผล

การลดน้ำหนักที่ได้ผลและยั่งยืน เกี่ยวข้องกับคำนวณ BMR และ TDEE ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยคุณประเมินพลังงานพื้นฐานและพลังงานทั้งหมด